ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

อาหารการกิน และอุปนิสัย

อาหารการกิน และอุปนิสัย

          ช้างกินอาหารประมาณวันละมากกว่า 200 กิโลกรัม อาหารที่กิน ได้แก่ หญ้า ใบและต้นของกล้วยป่า หน่อไม้ ไผ่ ผลไม้และยอดไม้ โดยช้างมักจะหักกิ่งไม้จากยอดไม้ลงมากินและเหลือทิ้งไว้ ทำให้สัตว์อื่นๆ เช่น กวาง กระทิง วัวแดง ฯลฯ ช้างจะกินผลไม้ทุกชนิดที่หล่นตามพื้น หรืออาจใช้หัวดันต้นไม้ให้ลูกไม้ตกลงมา สัตว์กินพืชนั้นจะต้องการดินโป่งซึ่งประกอบด้วยโซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม และอื่นๆ ช้างก็เช่นกัน มักจะกินโป่งในช่วงที่ฝนตกเพราะดินอ่อนนุ่ม ในช่วงที่ฝนไม่ตก ช้างสามารถใช้งาขุดดินโป่ง ทำให้ดินโป่งร่วน ทำให้สัตว์อื่นสามารถเข้ามาอาศัยกินดินโป่งได้ 

          ช้างต้องการน้ำประมาณวันละ 200 ลิตร ในฤดูแล้งช้างสามารถหาน้ำกินโดยใช้เท้าและงวงขุดทรายท้องน้ำที่แห้งลงลึกประมาณ 50-100 เซนติเมตร ถ้าขุดลึก 30 เซนติเมตรแล้วทรายยังแห้งช้างจะเปลี่ยนที่ขุดใหม่

          ช้างมักอาศัยอยู่เป็นโขลง โขลงละ 1 ครอบครัว ในโขลงมักประกอบด้วยช้างตัวเมีย และช้างตัวผู้อายุน้อย ส่วนตัวผู้ที่โตเต็มวัยมักหากินตามลำพัง เรียกว่า "ช้างโทน" จะเข้าโขลงเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น จ่าโขลงมักเป็นตัวเมียที่มีอายุมาก ที่เรียกว่า "แม่แปรก" (อ่านว่าแม่ปะแหรก) เป็นผู้นำโขลงในการหากิน และหลบภัย

          เนื่องจากช้างที่มีอายุมากจะมีประสบการณ์ในเส้นทางอาหาร น้ำ และโป่ง ขณะมีการเคลื่อนย้ายโขลงลูกช้างจะถูกขนาบด้วยแม่และแม่รับเสมอ ส่วนตัวผู้จะเดินตามโขลงอยู่ห่างๆ ช้างมักยืนในร่มโบกหูไปมา ยามหลับจะโยกตัวช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ บางตัวอาจนอนตะแคงในช่วงเวลาสั้นๆ ช้างจะนอนในเวลากลางคืน ประมาณวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น

          ช้างสามารถว่ายน้ำได้ ในอัตราเร็วประมาณ 1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  และสามารถว่ายน้ำโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้นเลยได้ติดต่อกันนานกว่า 6 ชั่วโมง ช้างมักใช้โคลนหรือฝุ่นพ่นใส่ตัวเอง อาจเพื่อเป็นการป้องกันแมลงกัด โดยเฉพาะในฤดูฝน

          ช้างตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยบางตัวที่มีอายุประมาณ 20-40 ปีจะมีช่วงการตกมัน ซึ่งเป็นช่วงที่ช้างมีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ ช้างจะมีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว ก่อนเกิดอาการตกมัน ต่อมระหว่างตากับหูจะบวมขึ้นและมีน้ำมันไหลออกมา น้ำมันนี้มีกลิ่นฉุนเหม็นสาบรุนแรง ช้างตัวผู้มักมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ บางครั้งอาจมีน้ำเชื้อไหลออกมาด้วย 1-3 สัปดาห์หลังจากนั้นช้างจึงจะมีการก้าวร้าว เจ้าของช้างหรือควาญช้างมักลดปริมาณอาหารหรืองดอาหารเพื่อให้ช้างลดความอุดมสมบูณ์ของร่างกาย การตกมันมักจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูหนาว แต่ก็อาจเกิดช่วงฤดูร้อนได้ อาการจะคงอยู่ 2-3 สัปดาห์จึงสงบลง

ลักษณะทั่วไปของช้างเอเซีย

ลักษณะทั่วไปของช้างเอเซีย      
  
           ช้างเอเซียเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อาศัยอยู่บนบก เท้าเป็นกีบ มีลักษณะกลม (Hoof) มีงวงยาว ความยาวของลำตัวจากหัวจรดโคนหางยาวประมาณ 400 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 100-150 เซนติเมตร ใบหูกว้างประมาณ 40-50 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 3,500-4,000 กิโลกรัม (3.5-4.0 ตัน) ความสูงบริเวณไหล่เฉลี่ยประมาณ 240-270 เซนติเมตร (8-9 ฟุต)

          ลูกช้างเมื่อเกิดใหม่ๆ จะมีขนปกคลุมตามร่างกาย แต่ภายหลังขนจะค่อยๆ หลุดร่วงไปคงเหลือบ้างประปราย ขนตาค่อนข้างยาว และปลายหางจะมีขนเส้นใหญ่ หยาบ ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร งอกเป็นแผง 2 ด้านของหางงอโค้งไปทางด้านปลายหาง ผิวหนังเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงสีเทา บริเวณหูและงวงมีสีอ่อนกว่าบริเวณอื่น หัวโต มีโหนกเป็นลอน 2 อัน ซึ่งเรียกว่า "โหนกน้ำเต้า" สมองเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของหัว คือสมองกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร สูงประมาณ 12.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม กะโหลกหัวส่วนใหญ่เต็มไปด้วยโพรงอากาศคล้ายรังผึ้ง จึงทำให้กะโหลกหัวช้างมีน้ำหนักเบา สมองอยู่ในตำแหน่งกลางหัว ถ้าลากเส้นตรงจากกึ่งกลางรูหูข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งจะผ่านกลางสมองพอดี มีต่อมบรรจุของเหลวข้นคล้ายน้ำมันหมูอยู่บริเวณขมับ ระหว่างตากับรูหูข้างละ 1 ต่อม ต่อมนี้ยังไม่ทราบหน้าที่ที่แท้จริง ช้างตัวเมียมีเต้านม 2 เต้าอยู่บริเวณหน้าอกระหว่างขาหน้า 2 ข้าง ตามปกติหัวนมจะไม่พัฒนายกเว้นขณะเป็นแม่ลูกอ่อน ช้างมีตาขนาดเล็ก

          ช้างมีงวง ซึ่งเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากจมูกและริมฝีปากบน ซึ่งยืดยาวออกไปโดยมีรูจมูกอยู่ที่ปลายงวง 2 รู งวงประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อหลายชั้น ดังนั้นงวงช้างจึงมีความแข็งแรงและมีกำลังมาก บริเวณปลายงวงมีอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นและสัมผัส ทำให้ช้างสามารถรับรู้กลิ่นต่างๆได้ในระยะไกล ช้างสามารถรับกลิ่นเสือหรือมนุษย์ที่อยู่เหนือลมได้ไกลถึงกว่า 1 กิโลเมตร งวงช้างนอกจากจะเป็นจมูกใช้ในการหายใจและดมกลิ่นต่างๆแล้ว ยังใช้เป็นอวัยวะจับสิ่งของต่างๆ ตลอดจนอาหาร เช่น หญ้า ใบไม้ และดูดน้ำพ่นเข้าปากกินได้ด้วย

          ช้างมีตาขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัวที่ใหญ่โต แต่ช้างเป็นสัตว์ที่มีสายตาไม่ดี ในระยะ 15-20 เมตร ช้างอาจมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม หรือศัตรู

          งาช้างเป็นฟันตัดที่พัฒนาเจริญงอกยาวออกไปจากขากรรไกรบนข้างละ 1 กิ่ง งาช้างตามปกติจะมีขนาดใหญ่และยาวพ้นริมฝีปาก พบเฉพาะในช้างตัวผู้เท่านั้น ส่วนช้างตัวเมียและช้างสีดอซึ่งเป็นช้างตัวผู้ที่มีงาขนาดเล็ก เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวไม่พ้นริมฝีปากหรือยาวพ้นริมฝีปากเพียงเล็กน้อยประมาณ 10-15 เซนติเมตร เรียกงาแบบนี้ว่า "ขนาย" ไม่เรียกว่า "งา" โคนงาและขนายที่ฝังอยู่ในขากรรไกรบนจะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่หนาประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ลักษณะงาช้างโดยทั่วไปจะเป็นโพรงหรือรูกลวง ความลึกของโพรงขึ้นอยู่กับอายุของช้าง ช้างที่มีอายุมากส่วนโพรงจะตื้น สั้นกว่าส่วนที่ตัน ช้างที่มีอายุมากๆ อาจมีโพรงลึกเพียง 15-20 เซนติเมตรเท่านั้น ภายในโพรงของงาจะเต็มไปด้วยของกึ่งเหลวกึ่งแข็งสีน้ำตาลแดงคล้ายตับหมู ช้างจะเริ่มมีงาหรือขนายเมื่ออายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างนอกจากจะใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวของช้างแล้ว ยังใช้สำหรับลอกเปลือกไม้ และขุดดินโป่งกินได้อีกด้วย ตามปกติงาช้างจะมีสีขาวซึ่งแตกต่างจากสีขาวธรรมดาทั่วไป จึงเรียกว่าสีงาช้าง นอกจากนี้ยังเคยมีรายงานว่ามีงาช้างสีดำซึ่งเป็นสิ่งที่หายากมาก ปัจจุบันหาดูได้ที่ศาลากลางจังหวัดน่าน

          ใบหูช้างประกอบด้วยใบหูและรูหู ใบหูของช้างเป็นแผ่นใหญ่ ขอบใบหูของช้างเอเซียจะสูงไม่พ้นหัว ส่วนโคนใบหูหนาแล้วค่อยๆบางลงไปจนถึงของใบหู บริเวณปลายขอบใบหูมีลักษณะเว้าแหว่ง ยิ่งช้างที่มีอายุมากลักษณะเว้าแหว่งของใบหูยิ่งมีมากขึ้น ใบหูมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 65-85 เซนติเมตร

          ช้างจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 25 ปี และมีอายุยืนประมาณ 70 ปี

ช้างเอเชีย

ช้างเอเชีย  ช้างเอเซียจำแนกได้ 3 ชนิดย่อย (subspecies) ได้แก่

1. ช้างเอเซียพันธุ์ศรีลังกา ( Elephas maximus maximus Linn )
          เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาช้างเอเซียทั้งหมด ตัวผู้หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็น ช้างสีดอ (mukna) คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ยาวไม่พ้นปากหรืออาจยาวพ้นปากเพียงเล็กน้อย มีน้อยตัวที่มีงา ส่วนตัวเมียหรือช้างพังมีลักษณะเหมือนกับช้างเอเซียพันธุ์อื่นๆ คือไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น

2. ช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย ( Elephas maximus indicus Cuvier )

          เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติบนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเซีย ได้แก่ ประเทศเนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา แคว้นยูนนาน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ช้างในประเทศไทยยังมีลักษณะที่น่าสังเกตุอีก ดังนี้ คือ

หนังมีขนเส้นห่างๆ ปลายหางมีขนเส็นยาวๆ งอกเป็นแนวด้านหน้าและด้านหลังของปลายหาง (ราว 2-3 นิ้ว) ขนหางยาวราว 7-8 นิ้ว โค้งไปจรดกันตรงปลาย 
ลายฟันหน้า มักมีจำนวนตามลำดับชุดของกรามดังนี้ คือ 4, 8, 12, 16, 24 แต่อาจมากน้อยกว่านี้บ้างในบางราย
ช้างตัวผู้บางตัวมีงา เรียกว่าช้างพลาย ถ้างาใหญ่ เรียกว่า ช้างงาปลี ถ้างาเล็ก ยาวเรียว เรียกว่า ช้างงาเครือ ตัวผู้ที่ไม่มีงา เรียกว่า ช้างสีดอ (mukna) 
ช้างตัวเมีย เรียก ช้างพัง ช้างสีดอและช้างพัง ไม่มีงา มีแต่ขนายที่ใช้แทนงา 
ช้างเผือก คือ ช้างที่มีต่อมทำสีเมลานินผิดปกติ ผิวหนังและขนค่อนข้างเป็นสีหม้อใหม่ นัยน์ตาขาวๆ เหลืองๆ ส่วนอื่นๆ จะเป็นสีจาง ช้างแก่ๆ มักมีโคนงวงและใบหูตกกระเป็นสีหม้อใหม่เหมือนกัน
ช้างป่า เรียกหน่วยนับเป็น ตัว ช้างเลี้ยง เรียกหน่วยนับเป็น เชือก 
3. ช้างเอเซียพันธุ์สุมาตรา ( Elephas maximus sumatranus Temmick )           เป็นช้างที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าตามธรรมชาติบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ขนาดร่างกายมักจะเล็กกว่าช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย

ลักษณะและธรรมชาติของช้าง

             ลักษณะและธรรมชาติของช้าง

ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์แข็งแรงมีกำลังมาก มีขาใหญ่ 4 ขา พื้นเท้าอ่อนนุ่มเมื่อช้างเดินจึงไม่ใคร่ไดยินเสียง ส่วนการนอนของช้างนั้นโดยธรรมชาติแล้ว ช้างจะนอนตะแคงตัวลำตัวกับพื้น และมีการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ตามปกติช้างจะนอนหลับในระยะเวลาสั้น เพียง 3-4 ชั่วโมง เวลานอนอยู่ในระหว่างเวลา 23.00 นาฬิกาถึง 03.00นาฬิกา ช้างไม่นอนกลางวันนอกจากมีอาการไม่สบาย
งวงช้างคือ จมูกของช้าง ยาวถึงพื้น ใช้หายใจและจับดึงยกลากสิ่งของต่าง ๆ ได้ และใช้หยิบอาการเข้าปาก ปลายงวงมีรูสองรู กลวงตลอดความยาวงวงช้าง งวงช้างไม่มีกระดูกอยู่ภาพใน จึงอ่อนไหวและแกว่งไปมาได้ง่าย งวงนี้ใช้อมน้ำและพ่นน้ำเล่นได้ เมื่อช้างจะดื่มน้ำจะใช้งวงดูดน้ำข้าไปเก็บไวในงวงก่อนแล้ว
จึงพ่นน้ำจากงวงเข้าในปากอีกทีหนึ่งงาช้างเป็นสิ่ง
ที่สวยงามและมีราคามากที่สุดในตัวช้าง งาช้างก็คือฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกออกจากขากรรไกรบนข้างละอัน งาช้างทั้งคู่มีสีขาวนวล เริ่มโผล่ใหเห็นเมื่อมีอายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างที่สวยงามจะต้องมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอจนเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ช้างใช้งาเป็นอาวุธป้องกันตัวต่อสู่กับสัตว์ร้าย
นัยน์ตาช้างมีตาเล็กมาก
เมื่อเทียบกับรูปร่างอันสูงใหญ่ แต่ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนดี และเห็นไดแต่ไกลใบหู
มีลักษณะคล้ายพัด โบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อช้างกางใบหูออกจะได้ยินเสียงจากที่ไกล ๆ ได้ดีขึ้น ช้างที่มีอายุมากใบหูจะม้วนลงมาและขอบล่างมักเว้าแหว่ง การเว้าแหว่งของขอบล่างใบหูอาจใช้คาดคะเนอายุของช้างได้อย่างคร่าว ๆ ถ้าใบหูเว้าแหว่งน้อยก็แสดงว่าอายุยังน้อย ถ้าเว้าแหว่งมากก็หมายถึงอายุมากหาง
หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวลงไปถึงเข่า ที่ปลายมีขนเส้นโตสีดำ ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว เรียงเป็น 2 แถว ตลอดความยาวของหางประมาณ 6-7 นิ้ว
จำนวนเล็บช้างมีนิ้วเท้าสั้นที่สุดจนเห็นแต่อุ้งเท้า มีเล็บโผล่ให้เห็นเป็นบางเล็บ ส่วนมากมี 18 เล็บ คือเท้าหน้าข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 4 เล็บ บางตัวมี 16 บางตัวมี 20 เล็บ

ความฉลาดของช้างไทย

ช้างไทย เป็นช้างเอเชีย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว สามารถนำมา
ฝึกใช้ในการใช้งาน ให้ทำตามคำสั่ง ของมนุษย์ได้
สรีระของช้างไทย ซึ่งเป็นช้างเอเชีย มีศรีษะ ใหญ่
มีมันสมองมาก ทำให้ช้างที่นำมาจากป่า เพื่อนำมาเลี้ยง เป็นช้างบ้าน
มีความสลาด สามารถสื่อสารกับมนุษย์ ผู้นำมาฝึก
คนเลี้องช้าง ควาญช้าง โดยเฉพาะที่เป็นชาวไทยกูย
หรือส่วย แห่งจังหวัดสุรินร์ จะมีความชำนาญ ในการฝึกช้างเป็นพิเศษ
ช้างไทย จัดเป็นสัตว์บก ขนาดใหญ่ ที่สามารถ สื่อสารกับมนุษย์ได้
กับภาษา พูดของมนุษย์ และอากัปกิริยา อาการ ที่สื่อสาร เข้าใจกันได้
ที่มา:(http://thaibrown2000.8m.com/)

ลักษณะต่างๆของช้าง


งาช้าง ถือเป็นฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกจากขากรรไกรบนข้างละอัน
โดยมีสีขาวนวล จะเริ่มโผล่ออกมาให้เห็นเมื่อช้างพลายมีอายุราว ๒-๕ ปี
ส่วนช้างพลายที่มีงาไม่สมบูรณ์เราเรียกว่า "ขนาย" ซึ่งจะสั้นกว่างาปกติ
และช้างพลายที่ไม่มีงาเรียกว่า "สีดอ" แต่จะมีรูปร่างใหญ่และแข็งแรงกว่า
ช้างปกติ ส่วนช้างอาฟริกาจะมีงาทั้งตัวผู้และตัวเมืย

งาช้างที่สวยงามจะต้องมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอเกือบครึ่งวงกลม และช้าง
จะใช้งานเป็นอาวุธสำหรับต่อสู้และป้องกันตัว นอกจากนี้ถือเป็นสิ่งสวยงาม
และมีราคามากที่สุดในตัวช้าง

หูช้าง มีลักษณะคล้ายกับใบพัด และโบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อกางหูออกเต็มที่
จะได้ยินเสียงจากที่ไกลๆ ได้ดีขึ้น ช้างสามารถสื่อสารระยะไกลได้ด้วยการ
ส่งเสียงอินฟราซาวด์ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงความถี่ต่ำ และช้างที่อายุมาก ใบหูจะ
ม้วนลงมาและขอบล่างมักเว้าแหว่ง ซึ่งเราสามารถคาดคะเนอายุของช้าง
จากการเว้านี้ได้ กล่าวคือถ้าใบหูเว้าน้อยแสดงว่าอายุยังน้อย ในทางกลับกัน
ถ้าเว้ามากอายุก็มากขึ้น

ตาของช้างจะมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับขนาดของร่างกาย ซึ่งจะเป็นตา
ขยาย มองเห็นได้ไกลและภาพที่เห็นจะมีขนาดใหญ่ อันเป็นเหตุให้ช้างตกใจ
ง่ายเมื่อมองเห็นสิ่งแปลกประหลาด

งวง คือจมูกของช้างมีความยาวถึงพื้น ปลายงวงมีรู ๒ รู กลวงตลอดความยาวของงวง และไม่มีกระดูกอยู่ภายใน จึงมีความอ่อนไหวและแกว่งไปมาได้นอกจากจะใช้หายใจแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการหยิบอาหารเข้าปาก อมน้ำพ่นน้ำเล่นได้ ที่งวงช้างมีกล้ามเนื้อถึง ๔๐,๐๐๐ มัด สามารถหยิบจับได้แม้
กระทั่งดอกไม้เล็กๆ

นิ้วเท้าของช้างมีขนาดสั้นจนเห็นแต่อุ้งเท้า ที่ใต้อุ้งเท้ามีหมอนรองอยู่คล้าย
กับยางรองเท้าผ้าใบ ทำให้ช้างเดินได้เบาและสง่างามมาก ส่วนเล็บเท้านั้น
โดยทั่วไปมี ๑๘ เล็บ คือ เท้าหน้าข้างละ ๕ เล็บ เท้าหลังข้างละ ๔ เล็บ แต่
บางเชือกหรือบางตัว ก็มี ๑๖ หรือ ๒๐ เล็บ

หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวไปถึงเข่า ที่ปลายมีเส้นโตสีดำ ยาวประมาณ
๔-๖ นิ้วเรียงเป็น ๒ แถว ตลอดความยาวของหางประมาณ6-9 นิ้ว



ลักษณะของช้างดี

ลักษณะของช้างดี
          ช้างก็เหมือนมนุษย์ ย่อมมีลักษณะที่มองดูสวยงามหรือไม่สวยงาม
         
ช้างที่มีลักษณะดี   ต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง  ศีรษะโต  แก้มเต็ม  หน้าผากกว้าง  มีดวงตาแจ่มใส มีขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อยลาดไปทางหางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้ เรียกว่า  "แปก้านกล้วย" ถือกันว่าเป็นลักษณะของช้างดีที่สุด เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมองดูสง่า ถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กันออกมา ไม่บิดหรือถ่างห่างจากกันมากเกินไปลักษณะของชายใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาด 
          การสังเกตดูช้างว่ามีสุขภาพดีหรือไม่ มีข้อสังเกตอย่างง่าย ๆ คือ ช้างนั้นจะยืนแกว่งงวงและพับหูไปมาอยู่เสมอ  และเดินหาหญ้าหรืออาหารอื่นกินอยู่ตลอดเวลา ที่เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ ซึ่งมองเห็นได้ง่ายจากรอยเปียกของฝุ่นที่เกาะเท้าช้าง ทั้งนี้เนื่องจากช้างไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังเหมือนมนุษย์เรา ฉะนั้น มันจึงใช้โคนเล็บเป็นที่ระบายเหงื่อ  หรือระบายความร้อนออกจากร่างกาย  เช่นเดียวกับสุนัขที่ใช้วิธีระบายเหงื่อหรือความร้อน โดยวิธีแลบลิ้นหรือหอบอย่างที่เราเห็นกันอยู่เสมอ ๆ
         
การสังเกตดูอายุช้าง อาจทำได้โดยวิธีง่าย ๆ  คือ สังเกตจากขอบหู ถ้าขอบหูด้านบนม้วนกลมประมาณ ๑ นิ้วฟุต แสดงว่าช้างนั้นมีอายุประมาณ ๒๕ ปี ถ้าขอบหูใหญ่ขึ้นและปลายขอบไม่ม้วนกลมแสดงว่าช้างอายุมาก สำหรับปลายใบหูส่วนที่อ่อนห้อยลงมานั้น  อาจใช้เป็นเครื่องสังเกตได้  คือ ช้างมีอายุมาก มักมีปลายใบหูฉีกขาดมากด้วย  ช้างที่มีแก้มตอบหรือมีหนังเหี่ยว  แสดงว่าช้างนั้นมีอายุมากแล้ว ผู้ที่จะซื้อช้างไว้ใช้งาน นอกจากจะพิจารณาลักษณะดังกล่าวแล้ว ยังต้องดูว่าช้างที่จะซื้อนั้นมีลักษณะ "ต้องเสนียด" หรือไม่
         
เสนียดของช้าง หมายถึงลักษณะ  หรือรูปร่าง  ตลอดจนอาการกิริยาของช้างที่แสดงออกมา  ซึ่งเชื่อกันว่า จะเป็นผลร้ายสะท้อนไปถึงผู้เป็นเจ้าของ  เช่น ช้างที่ต้องเสนียดอาจทำให้เจ้าของต้องประสบแต่ความขาดทุนหรือเจ็บไข้ไม่สบายอยู่เสมอ ๆ  เสนียดต่าง ๆ ของช้างเท่าที่ยอมรับกัน  คือ ช้างที่มักแสดงอาการชูงวงขึ้นสูงแล้วเอางวงยัดเข้าปากเป็นประจำ เรียกกันว่า "กินนมฟ้า" หรือช้างที่ยืนโยกตัวถอยหน้าถอยหลังแล้วยกหัวขึ้นลงเสมอและในเวลาเดียวกันก็แกว่งขาหลังไปด้วย เรียกกันว่า"หัวตำข้าว"  นอกจากนั้น  ยังมีเสนียดอีกหลายอย่างซึ่งมีความเชื่อถือผิดแผกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ บางถิ่นถือว่าช้างหางยาวจนปัดดินไม่ดี   หางสั้นเกินไปจนเลยข้อกลางขาหลังไม่ดีหรือหางงอเป็นข้อไม่ดี

ความสำคัญของช้างไทย


ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย          ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็นรูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

- ช้างเป็นผู้ปกป้องเอกราชแห่งชาติไทย

         ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชและความเป็นชาติให้แก่ชาวไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็นปึกแผ่นและมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้ทรงประกาศเอกราชและความเป็นชาติของคนไทยบนหลังช้างทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด โดยจากความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ทำให้ช้างไทยเชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

 - ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ

         การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้นล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ
- ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้

 - ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม

         ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

- ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้

วันช้างไทย


          เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย
วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
         คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541
         ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ช้างไทยในพระราชพิธี

















ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่  3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4  ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น  2  ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน

ประวัติช้างไทย

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์         

ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน

วีดีโอ ช้างป่ากุยบุรี ตอน ลูกช้างเกิดใหม่